178 | It's a Wonderful World

The World Ends With You หรือ すばらしきこのせかい (Subarashiki Kono Sekai) It’s a Wonderful World เป็นเกม Action RPG แบบเน้นการใช้ Stylus ของค่าย Square-Enix จุดเด่นของเกมตอนแรกก็คือมันเป็นเกมหัวใหม่ของค่าย Square-Enix ที่เอ็กส์คลูซีพลง DS เกมแรก จุเด่นอีกจุดนึงก็คือเกมนี้ออกแบบตัวละครโดย Tetsuya Nomura (FFVIII, FFX, Parasite Eve) ชื่ิอเกมเดิม It’s a Wonderful World นั้นถูกเปลี่ยนเพราะว่า It’s Wonderful World นั้นมีลิขสิทธิ์แล้วในประเทศอเมริกา จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็น The World Ends With You แทน ซึ่งประโยค”The World Ends With You” เป็นประโยคนึงที่ Mr. Hanekoma ตัวละครลึกลับและมากด้วยปริศนาพูดไว้ในเกม

The World Ends With You (จากนี้จะเรียกย่อว่า WEWY) นั้นมีรูปลักษณ์โดดเด่นในแง่การออกแบบ ไม่ใช่เรื่องกราฟฟิคที่หรูหราแต่เป็นเรื่องสไตล์ของภาพที่เป็นเหมือนงานศิลปะ Graffiti ของวัยรุ่น เรื่องราวของเกมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ชิบุยะเขานึงในโตเกียวซึ่งเป็นศูนย์รวมของวัยรุ่นและแฟชั่น เปรียบเทียบกับเมืองไทยก็ราวๆสยามสแควร์ WEWY นั้นออกแบบโดยได้รับแรงบบันดาลใจจากชิบุยะโดยตรงและแรงอย่างที่สุด ทั้งรูปแบบผู้คนที่พลุกพล่านในเมืองใหญ่จนไปถึงรูปแบบงานศิลปะแบบสมัยใหม่และดนตรีร่วมสมัยที่มีเอกลักษ์เลยทีเดียว
เรื่องราวในเกมเริ่มต้นที่ เนคุ ซากุราบะ นั้นจู่ๆก็ได้ตื่นขึ้นมากลางชิบุยะ จำอะไรไม่ได้ทั้งนั้นนอกจากความรู้สึกที่เกลียดชังสิ่งรอบๆตัวและการค้นหาโลกอันแสนสุขที่เขาต้องการ ทุกๆคนมองไม่เห็นเขานอกจากเด็กผู้หญิงคนนึงที่ชื่อชิกิและกลุ่มคนที่เรียกว่ายมทูต เนคุรับรู้ว่าตัวเขาได้ตายไปแล้วและถูกบังคับให้เข้าร่วม “เกมยมทูต” โดยมีเงื่อนไขว่าหากเขาชนะ เขาจะฟื้นจากความตาย โดยที่เนคุจะต้องจับคู่กับชิกิและต่อสู้กับสิ่งที่เรียกว่า “นอยส์” ทำตามเงื่อนไข “เกมยมทูต” ให้สำเร็จและเอาชีวิตรอดให้ได้ 7 วัน

รูปแบบการดีไซน์ของเกมนั้นเข้าใจได้ง่ายเพราะเป็นมุมมองด้านข้างปกติ กราฟฟิคเป็นดอทพิกเซลผสมสามมิติเล็กน้อย ฉากต่างๆที่สร้างจากชิบุยะก็ทำได้สบายตาและเป็นเอกลักษณ์ สิ่งที่สำคัญก็คือฉากต่อสู้ ฉากต่อสู้จะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือจอบนและจอล่าง จอบนนั้นจะเป็นคู่หูของเราที่เปลี่ยนไปเรื่อง ส่วนจอล่างจะเป็นตัวเนคุที่เราต้องบังคับ ตัวเกมทั้งเกมจะต้องสู้ด้วย Stylus ร่วมกันกับปุ่มกากบาทหรือปุ่ม a b x y ขึ้นอยู่กับว่าถนัดขวาหรือซ้าย เราต้องเล่นพร้อมกันทั้งสองจอ ซึ่งนั่นเหมือนจะเทำให้สนุก แต่ก็เป็นจุดที่น่ารำคาญมากเหมือนกัน เพราะต้องคอยระวังทั้งบนและล่าง ถึงจะมีระบบให้คอมพิวเตอร์เล่นให้ก็เหอะ แต่มันก็เล่นได้ห่วยไม่น้อยเลย
เวลาเราจะโจมตีศัตรูด้วยเนคุนั้่น เราจะใช้สิ่งที่เรียกว่า Pin รูปแบบการใช้ Pin นั้นแตกต่างกันไปเช่น จิ้มเฉยๆ จิ้มแล้วลาก ลากจากล่างขึ้นบน ลากเป็นวงกลม หรือแม้กระทั่งการพูดใส่ลำโพง (ใช้วิธีเป่าเอาก็ได้) เมื่อเล่นไปนานๆมันก็เพลินๆดีเหมือนกัน แต่ปัญหาหนักใจก็คือด้วยความที่ต้องจิ้มลากต่อเนื่องนานๆ ทำให้เมื่อยแขนเป็นอย่งมากจนทำให้เล่นนานๆไม่ไหว แต่อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเป็นเกมที่เล่นเพลินเกมนึงเลยทีเดียว ตัวเกมยังมีระบบการปรับเลเวลของตัวเราได้ เช่นตัวเราเลเวล 50 แต่ก็สามารถกดความสามารถให้เหลือเท่าเลเวล 20 ได้ และยังปรับความยากไปอีกด้วย ความยากของเกมไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อเรื่อง แต่มีผลกับอัตราดรอปของต่างๆ ถ้ายิ่งกดเลเวลมากก็ยิ่งทำให้ของดรอปได้ง่ายขึ้น ถ้าเลือกความยากสูงขึ้น ก็ยิ่งทำให้ของที่ดรอปดีขึ้น สรุปแล้วว่าถ้าเป็นคนโลภ ก็จะโดนบีบกลายๆให้เล่นยากๆนั่นเอง
ด้วยปัจจัยที่เหมือน WEWY จะหลอกขายวัยรุ่นได้ดีอย่าง “เป็นเกมของค่าย Square-Enix” หรือ “มีตัวเอกเป็นวัยรุ่นและเพื่อนๆที่ออกแบบโดยเท็ตสึยะ โนมุระ” รวมไปถึงการมีพื้นหลังเป็นชิบุยะด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยอดขาย WEWY นั้นก็ไม่ได้สูงมากนัก (แต่ก็ไม่น้อยซะทีเดียว) เกมนี้ตอนออกภาษาญี่ปุ่นนั้นผมไม่ได้เล่น รอมาเล่นตอนภาษาอังกฤษทีเดียว และเมื่อได้ลองสัมผัสดูก็พอจะเข้าใจว่าทำไมถึงไม่สามารถเข้าถึงตลาดวงกว้างได้ มองจากภายนอก WEWY มีตัวเอกเป็นวัยรุ่นและมีเพื่อนๆหลายคน (คล้ายกับโปเกมอน) แต่เนื้อเรื่องเกมจริงๆนั้นออกไปทางหดหู่และเศร้าหมอง เท็ตสึยะ โนมุระ นั้นน่าจะมีพรสวรรค์ทางด้านการออกแบบตัวละครเด็กมีปัญหา เรื่องราวในเกมนั้นแม้จะบอกว่าเป็น “เกมของยมทูติ” แต่ก็มีความซับซ้อนและหลอกลวงทับถมอยู่มากมาย ตัวละครเด็กต่างๆก็มีปัญหาทางด้านจิตใจด้านลึก ยิ่งเมื่อวางอยู่บนบรรทัดฐานว่า “ทุกคนได้ตายไปแล้ว” ทุกอย่างดูสิ้นหวังและไร้ทางออก ซึ่งมองอย่างไรก็ไม่น่าจะถูกใจกลุ่มเด็ก-วัยรุ่นส่วนมากได้เลย
ความซับซ้อนของเรื่องราวของ WEWY ยิ่งชวนงงเข้าไปอีกเมื่อพบว่าชิบุยะในเกมหรือโลกเราทั้งหมดนั่นหล่ะวางอยู่บนคลื่นความถี่ที่แตกต่างกัน เหล่ายมทูติและผู้เล่นเกมนั้นอยู่อีกระดับความถี่นึง ทำให้ไม่สามารถมองเห็นกันได้ และความถี่ก็มีอีกหลายดับขึ้นไปอีกทับซ้อนกันไปเรื่อยๆ โดยความถี่อีกระดับก็จะมีสิ่งที่ควบคุมอีกระดับแตกต่างกันไป ปริศนาต่างๆในเกมนั้นจะค่อยๆ เฉลยเรื่องราว หรือบางอย่างก็ไม่เฉลยเลย จนกระทั่งเราได้ทำการเคลียร์เงื่อนไขแล้ว แน่นอนว่าต้องเล่นจบก่อนถึงจะทำได้ สารภาพว่าถึงผมเล่นจบแล้ว แต่ก็ไม่ได้นั่งหา Secret Report จนครบ แต่หาอ่านเอาต่างหากใน gamefaqs จนหมดแทน
ในตอนจบนั้นเมื่อ The Composer ได้ทำลายชิบุยะและทุกๆคนไป ฉากจบมีภาพของเรื่องราวความสุขของตัวละครต่างๆ ทั้งเนคุ ชิกิ บีท รีม ที่ไม่สามารถพบได้ในเกม บางคนอาจจะมองว่านั่นเป็นแฮปปี้เอนดิ้ง The Composer ได้เลือกเส้นทางที่ทำให้ทุกคนมีความสุข แต่ถ้ามองอีกด้านก็ถือได้ว่าฉากจบเป็นเพียงกิ่งก้านหนึ่งของเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ท่ามกลางกิ่งก้านทางแยกจำนวนนับไม่ถ้วน อย่างไรก็ตามความจริงก็คือเส้นทางกิ่งก้านนึงของชิบุยะนั้นได้ถูกทำลายลงไปแล้ว ซึ่งหมายความว่าเรื่องราวในเกมที่เราเล่นมานั้นมันอาจจะไม่ได้มีตอนจบที่สวยงาม และมันอาจจะกลายเป็น%E

One thought on “178 | It's a Wonderful World”

  1. ในเมกาฮิตมากนะครับ มีช่วงนึงขาดตลาด ราคาตลาดมืดอัพขึ้นไป 150% จากราคาปกเลยล่ะ
    /me นั่งฟัง CD OST

Comments are closed.